ที่มาของ กฎหมายสังคมไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน

www.leolinks.com

 

กฎหมายเป็น ข้อบังคับหรือกฎกติกาการอยู่ในประเทศนั้นๆ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน ถ้าใครฝ่าฝืนข้อเหล่านั้นจะมีบทลงโทษ แตกต่างกันไป เพื่อให้บ้านเมือง มีความสงบสุขสังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็มีผู้ที่ชอบทำผิดกฎหมายอยู่เรื่อยๆ ถ้าเราไม่มีบทลงโทษ ลองคิดดูว่าประเทศเราจะเป็นอย่างไร

ในระยะแรกสังคมไทยเรา มีกฎหมายที่ไม่สับซ้อนมากนัก อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีควบคุมความประพฤติสังคมที่เรียบง่าย มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเยอะกว่าในปัจจุบัน เปรียบเสมือน กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์สอนให้มนุษย์นั้นมีศีลธรรม แต่เมื่อสังคมที่เปลี่ยนไป มีผู้คนสมัยใหม่ที่ทำเรื่องผิดศีลธรรมมากขึ้น จนทำให้กฎหมายเก่านั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งต้อง ปรับเปลี่ยนกฎหมายตามยุคสมัย โดยต้องคิดไตร่ตรองมากขึ้น เพราะผู้กระทำผิดเหล่านั้น พยายามใช้ช่องว่างของกฎหมายกระทำความผิด กฎหมายของบ้านเรานั้น มีอยู่ 3 ช่วงเวลาหลักๆ เช่น ยุคกฎหมายเป็นของไทยแท้ๆ เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆที่ใช้มาจนถึง สมัยสุโขทัย ต่อมาได้พัฒนา โดยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย เริ่มใช้ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ โดยชื่อว่ากฎหมาย คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ได้ถูกส่งผ่านมาจากมอญ เป็นหลักการให้เน้นการปกครองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มาถึงในช่วงปัจจุบันประเทศไทยได้รับอิทธิพลกฎหมายจากประเทศตะวันตก ในช่วงมีการปฏิรูปกฎหมายในช่วง รัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5  โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ได้ แก้กฎหมายโดยใช้แนวทางจากประเทศตะวันตกที่เจริญแล้ว ได้ทรงจัดตั้ง ระบบบริการประเทศใหม่ จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และ ร่างประมวลกฎหมายใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรม

เห็นหรือป่าวว่า ทำไมกฎหมายต้องถึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะ สังคมทุกที่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทั้งเทคโนโลยี ทั้งยิ่งมีเร้ายั่วยุ ทำให้คนหลงผิดได้ง่าย และยิ่งตอนนี้ คดีต่างๆมีเยอะแยะมากมาย อย่างที่ร้ายแรง ที่สังคมไทย มีข่าวอยู่ทุกวัน ฆ่าข่มขื่น ปล้นชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น แต่ปัจจุบันกฎหมายบ้านเราอ่อน ทำให้คนไม่เกรงกลัวความผิดที่ตัวเองกระทำ