
กฎหมายทางแพ่งนั้นก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับการดูแลให้กับครอบครัวและมรดก ต้องมีกฎหมายที่เป็นธรรมดูแลครอบครัวด้วย เช่น การหมั้น การดูแลรับรองบุตร การรับมรดก การอย่าร้าง เป็นต้น
อธิบายกฎหมายแพ่งแต่ละกรณีว่ามีความสำคัญอย่างไร
- การหมั้น เป็นข้อตกลงระหว่างฝ่ายชาย และ ฝ่ายหญิง ทำสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ฝ่ายชายต้องมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงตามที่ตกลงกันจนจะเป็นสัญญากันอย่างสมบูรณ์ ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามกฎของการหมั้น และของหมั่นทั้งหมดจะตกเป็นของฝ่ายหญิง แม้ว่ากรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ก็ไม่สามารถเอาของหมั้นกลับไปได้ อายุของการที่กฎหมายคุ้มครองของการหมั้นนั้นต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจให้ตัวเองดำเนินการได้โดยลำพัง แต่สมมุติว่า 17 ปี ต้องการหมั้นต้องให้พ่อแม่มารับรองด้วย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืนถือว่าเป็นโมฆะทุกกรณี
- การรับรองบุตร เป็นการเซ็นรับรองบุตรที่เกิดจากภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นบุตรที่เห็นชอบของฝ่ายหญิง แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของฝ่ายชาย กฏหมายจึงได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายรับรองบุตรโดยเห็นชอบโดยกฏหมาย
- เกี่ยวกับมรดก กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเมื่อบุคคลใดเสียชีวิต ซึ่งได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะต้องตกทอดให้แก่บุคคลผู้ตายเขียนไว้ในพินัยกรรม แต่ถ้าหากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกไปอยู่ภรรยาที่สมรสและทายาท กองมรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ทายาทจะแบ่งออกได้ 2 ประเภท 1.ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทโดยถูกต้องตามกฎหมาย แบ่งออกได้ 6 ชั้นได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ปู่ย่า ลุงป้าน้าอา 2. ผู้รับพินัยกรรม คือ ผู้ที่ได้คำสั่งยกทรัพย์หรือแบ่งทรัพย์สิน หรือ ตั้งข้อกำหนดเงื่อนไขของการรับมรดก